2.แกลดิโอลัส (Gladiolus
tubergenii)
แกลดิโอลัสเป็นพืชในวงศ์ Iridaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่แถวแอฟริกาเขตร้อน
เอเชียตะวันตก และประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน
การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ.1800 จนถึงปัจจุบัน
ทำให้มีพันธุ์ต่าง ๆ ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วมากมายพันธุ์เหล่านั้นได้มาจากบริษัทผลิตพันธุ์ใหม่เป็นการค้า
และมีไม่น้อยที่เป็นผลงานของนักผสมพันธุ์สมัครเล่น
แกลดิโอลัสเป็นที่นิยมปลูกเพราะปลูกง่าย
ใช้ปลูกประดับสวนได้ดีและเป็นไม้ตัดดอกที่สำคัญด้วย
คือช่อขนาดเล็กใช้ปักแจกันตามบ้านเรือน ช่อใหญ่ใช้ประดับตามห้องโถงในโรงแรม
ในโบสถ์ ตามสถานที่ใหญ่โตหรูหราและทำเป็นช่อดอกไม้ขนาดใหญ่ได้สวยงาม
ชื่อของแกลดิโอลัสมาจากคำว่า Gladius ในภาษากรีกแปลว่า
ดาบ เมื่อเอาหัวของแกลดิโอลัสลงปลูก ต้นจะงอกใบเรียวยาวคล้ายดาบแทงขึ้นเหนือดิน
ใบมีเส้นใบขนานตามความยาวใบ ทำหน้าที่สร้างอาหารและเก็บสะสมไว้ที่โคนใบคือหัว เมื่อต้นมีใบได้
3 ใบจะเริ่มมีจุดกำเนิดดอกและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
จนเมื่อต้นมีใบ 7 ใบ
ช่อดอกนั้นจะแทงขึ้นพ้นใบและยืดขึ้นให้ดอกบาน
ในสภาพเมืองไทยใช้เวลาจากวันงอกจนถึงดอกบานตั้งแต่ 60-105 วันแล้วแต่พันธุ์
ฤดูกาลและสถานที่ปลูก ความสูงของต้นมีตั้งแต่ 18-48 นิ้ว
แกลดิโอลัสมีดอกเป็นช่อ และมีทุกสีนอกจากสีฟ้า
แต่ละสีมีสีย่อยลงไปอีก บางพันธุ์มีสีปลอด
บางพันธุ์มีสองสีคือมีสีอื่นเรื่อตรงคอดอกหรือปลายกลีบดอก
จำนวนดอกย่อยในช่อและการจัดเรียงของดอกย่อยแตกต่างกันไป ขนาดของดอกย่อยมีตั้งแต่ 1 นิ้วถึง 7 นิ้ว กลีบดอกอาจเรียบเป็นคลื่น เป็นแฉกลึก
เป็นเส้นเรียวยาวรูปเข็มหรือม้วนไปข้างหลังแล้วแต่ชนิดและพันธุ์
จำนวนดอกย่อยมีตั้งแต่ 10-30 ดอก พันธุ์ใหม่ๆ อาจมีมากกว่า 20
ดอก บนก้านที่ยาวตรงและแข็งแรงและสามารถบานพร้อมกันได้ถึง 10
ดอก โดยบานไล่จากดอกล่างขึ้นไป ก้านดอกยาว 0.8-1.2 เมตร และเป็นส่วนที่ให้ดอกเสีย 45-50 ซม.
ลักษณะช่อดอกและสีหาดูได้จากแคตตาล็อกของต่างประเทศทั้งอเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย
ดอกของแกลดิโอลัสจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่มที่สำค้ญดังนี้
1. พวกลูกผสมดอกใหญ่ ( Large flowered hybrids) ความสูง 3-4
ฟุต ดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาด 4 1- 7 นิ้ว เช่น
พันธุ์ที่นิยมปลูกกันเพื่อตัดดอกเป็นการค้าทั่วไป
2. ลูกผสมพริมูลินัส ( Primulinus hybrids) ความสูง 1
½ – 3 ฟุต กลีบบนของดอกงุ้มมาข้างหน้า ช่อดอกยาวประมาณ 15 นิ้ว มีดอกขนาด 3 นิ้ว และให้ดอกค่อนข้างห่าง
การปลูกไม่ต้องคํ้าต้น เช่น พันธุ์ Columbine และ Rutherford
เป็นต้น
3. ลูกผสมบัตเตอร์ฟลาย (Butterfly hybrids) ความสูง 2-4
ฟุต มีดอกย่อยค่อนข้างชิด คอดอกมีสีสะดุดตา เช่น พันธุ์ Melodie
4. พวกลูกผสมดอกเล็ก ( Miniature hybrids) ลักษณะคล้ายลูกผสมพริมูลินัส
ความสูง 1-2 ½ ฟุต ขนาดดอก 2 นิ้ว
ปลายกลีบดอกมักย่นหรือเป็นคลื่น เช่น พันธุ์ Greenbird
5. พวกสปีชีส์อื่น ( The Species) เช่น Gladiolus
byzantinus ความสูง 2 ฟุต ดอกเล็ก สีม่วง
ขาวและแดง เป็นพวกที่ทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ
สามารถปลูกกลางแจ้งได้ตลอดปีในต่างประเทศและ Gladiolus colvillii ความสูง 2 ฟุต ดอกเด็กสีขาว มีจำนวนดอกในช่อน้อย
เป็นต้น
การปลูกแกลดิโอลัสใช้หัว (corm) ซึ่งเป็นลำต้นใต้ดินมีลักษณะเหมือนของกลมที่ถูกทับให้แบนจากด้านบน
หัวมีเปลือกบางและแห้งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการสูญเสียนํ้าด้านล่างของหัวมีปุ่มรากเรียงรายอยู่โดยรอบซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นราก
ด้านบนของหัวมีตา ปกติตายอดเท่านั้นจะเจริญเป็นต้น แต่ถ้าหัวมีขนาดสมบูรณ์เต็มที่
ตาข้างอีกหนึ่งหรือสองตาจะเจริญเป็นต้นด้วย
แต่ละต้นจะสร้างหัวใหม่ขึ้นที่ฐานของต้นซ้อนบนหัวเดิมและมีหัวย่อย(cormel) เป็นจำนวนมากน้อยแล้วแต่พันธุ์ และความลึกของการเอาหัวลงปลูก ถ้าปลูกตื้นจะได้หัวย่อยจำนวนมาก
หัวย่อยเหล่านี้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเป็นหัวใหญ่ได้ในเวลา 5-7 เดือน
รากของแกลดิโอลัสมีสองแบบคือ
รากที่เกิดจากหัวเดิมมีลักษณะเป็นรากฝอย มีขนาดเล็ก บางและสั้น
ทำหน้าที่ดูดอาหารในระยะแรกเรียกว่า filiform roots’ เมื่อหัวใหม่เกิดซ้อนบนหัวเก่า
รากที่เกิดจากหัวใหม่มีขนาดใหญ่กว่าและอวบน้ำ ทำหน้าที่ยึดลำต้นและหัวให้อยู่ในดิน
ช่วยหาน้ำและแร่ธาตุเพื่อให้ต้นเติบโต เรียกว่า contractile roots ที่ปลายรากมีหัวย่อยติดอยู่
แต่ละหัวมีตาอยู่หลายตา ถ้าอยากได้ช่อใหญ่และมีคุณภาพดอกดี
ให้ใช้มีดคมๆ คว้านตาข้างออกให้หมด หรือรอให้งอกเป็นหน่อเล็ก ๆ
ก็หักทิ้งเหลือไว้แต่ตาใหญ่และแข็งแรงตรงกลางหัวไว้เพียงตาเดียว
ถ้าปล่อยให้ตาข้างเจริญขึ้นเป็น 2-3 ต้นจะได้ช่อดอกหลายช่อด้วย
แต่มีคุณภาพลดลงคือ ช่อดอกสั้นลงและมีจำนวนดอกในช่อน้อย
หัวขนาดใหญ่มีอาหารสะสมมากและเติบโตได้ดีทำให้ช่อดอกใหญ่และสมบูรณ์
แต่หัวขนาดใหญ่ควรมีอายุอย่างมากแค่ 2 ปีเพราะหัวที่มีอายุมากจะเสื่อมตัว
การสังเกตให้ดูจากหัวใหญ่ที่แก่แล้วมัก
มีหัวแบนและรอยแผลจากการเอาหัวเก่าออกมีขนาดใหญ่
บางครั้งจะมีแผลกลวงตรงกลางหัวคือ ตายอดถูกทำลายไป
ถ้าเอาไปปลูกตาข้างจะเจริญขึ้นแทน ดังนั้นหัวใหญ่ที่สุดไม่จำเป็นต้องดีที่สุด
ให้เลือกหัวสดเต่ง มีอายุไม่เกิน 2 ปี
ลักษณะไม่แบนนักและแผลจากการเอาหัวเก่าออกมีขนาดเล็กจะดีกว่า
หัวขนาดกลางจะให้ช่อดอกขนาดเล็กกว่าจากหัวขนาดใหญ่
จำนวนดอกอาจจะน้อยลงบ้าง เเละออกดอกช้ากว่า แต่หัวขนาดกลางมีราคาย่อมเยากว่า
ถ้าไม่ได้ปลูกเพื่อประกวดการใช้หัว ขนาดกลางจะเสียต้นทุนน้อยกว่า
ถ้าเลี้ยงดูอย่างดีก็จะได้ดอกที่มีคุณภาพดี
หัวขนาดเล็ก
อาจใหั่ช่อดอกที่มีขนาดเล็กมากไม่ได้มาตรฐานแต่จะได้หัวใหญ่เกิดซ้อนบนหัวเก่าเก็บไว้ปลูกต่อไปจึงจะให้ดอกมีคุณภาพดี
สำหรับหัวย่อยมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหัวใหญ่ เหมาะ สำหรับปลูกเอาหัวใหญ่
แม้จะใช้เวลาแต่เสียต้นทุนต่ำ
แต่หัวย่อยที่มีขนาดเล็กมากมักงอกน้อยและงอกไม่สม่ำเสมอ
การเลือกซื้อหัวขนาดใดจึงขึ้นกับจุดประสงค์
เงินทุนและระยะเวลาการรอดูดอกคือ หัวใหญ่เหมาะสำหรับปลูกเพื่อส่งประกวด หัวขนาดกลางเหมาะสำหรับปลูกเพื่อตัดดอกจำหน่าย
และหัวขนาดเล็กกับหัวย่อยเอาไว้ปลูกเพื่อทำพันธุ์เตี้ยใช้ต้นทุนต่ำ
วิธีการปลูกและเลี้ยงดู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น